สาระการเรียนรู้
สอบเก็บคะแนนเนื้อหาที่ได้ศึกษามา
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่ม 101
วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
บันทึกครั้งที่ 8
สาระการเรียนรู้วันนี้
พัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องพิเศษ
พัฒนาการ คือ
การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล
ทำให้สามารถทำหน้าที่ไอย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากซับซ้อนมากขึ้น ตามพัฒนาการทั้ง
4 ด้าน
พัฒนาการด้านร่างกาย
พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวะภาพ
-
ทางพันธุกรรม
-
ยีนที่ได้รับจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
-
การติดเชื้อ
-
สารพิษ
-
สภาวะทางโภชนาการ
และ การเจ็บป่วย
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
-
สภาวะแทรกซ้อน
-
สภาวะขาดออกซิเจน
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
-
ด้านระบบประสาท
-
สภาพแวดล้อม
-
เด็กถูกทอดทิ้ง –
ล่วงละเมิด...
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการพัฒนา
1.โรคพันธุกรรม
เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด
2.โรคของระบบประสาท
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการ หรือ
การแสดงแกทางระบบประสาท
3.การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม ไทรอยด์ฮอร์โมยในเลือดต่ำ
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางพัฒนาการ ที่พบบ่อยคือการเกิดก่อนกำหนด...
6.สารเคมี
ตะกั่วเป็นสารเคมีที่มีผลกระทบต่อเด็กมากที่สุด
7.การเลี้ยงลูกที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร
ปัจจัยข้อนี้จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่มักไม่รุนแรงนัก
กิจกรรมภายในห้องเรียน
แบบทดสอบ Gesell drawing test
>>เป็นการวัดไอคิวของลูกแบบง่ายๆ
ด้วยการทดสอบความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
บันทึกครั้งที่ 7
กิจกรรมภายในห้องเรียน
Present งานเกี่ยวกับเด็กที่มีความสามารถพี่เศษ
ของแต่ละกลุ่ม
- กลุ่มที่1 เรื่อง สมองพิการ(Cerebral
Palsy) หรือ (C.P.)
- กลุ่มที่ 2 เรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning
Disorders – LD)
- กลุ่มที่ 3 เรื่อง สมาธิสั้น Attention
Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD
ภาพรวมกิจกรรม
>>..................... ความรู้เพิ่มเติม ....................<<
สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือ (C.P.)
>> สมองพิการ(Cerebral
Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ
แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง
ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป
ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ
เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน
ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
นอกจากนี้
อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก
เป็นต้น
ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
>> LD คืออะไร?
• ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้
ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง
ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
• ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน
ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน
สมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD
>> การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหัก
หรือปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นจะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ
ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. Inattention การขาดสมาธิ
1. Hyperactivity เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้
2. Impulsivity เด็กจะหุนหัน
เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)