วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

กิจกรรมภายในห้องเรียน

  - ดูวิดีโอ เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ
  -ทำแผนภูมิความรู้รวบยอด


คุณครูทยุ บุตรประดิษฐ์ รร.สาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 

หน่วยประเมินคัดกรองแรกรับ ศูนย์การศึกษาพิเศษ รร.สาธิตละอออุทิศ ให้บริการเด็กพิเศษ และเด็กพิการทุกประเภท เพื่อการพัฒนาฟื้นฟูให้เด็กมีพัฒนาการด้าน­ต่าง ๆ พร้อมก่อนที่จะส่งต่อไปยังชั้นเรียน อาทิ ทักษะการฟัง การสื่อสาร การสังเกต การดูแลช่วยเหลือตนเอง โดยทำงานประสานกับครอบครัวอย่างใกล้ชิด

สารคดีชุด "ผลิบานผ่านมือครู" : การช่วยเหลือเด็กพิเศษในชั้นเรียนร่วม


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่3


วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่   19  พฤศจิกายน 2556

            กิจกกรรมในชั้นเรียน




    ลักษณะโรคหรือสภาวะที่ทำให้เกิดความ

   บกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ

  1. ซีรีบรัล พัลซี (Cerebral Palsy) หรือกลุ่มสมองพิการ 
 เป็นสภาวะความผิดปกติของ ท่าทางและการเคลื่อนไหว     ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพในสมอง   ในช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต

  ภายใน 8 ปีแรก   แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางสมองหลังช่วงอายุนี้  จะไม่เรียกว่า  Cerebral Palsy

  เด็กจะมีความผิดปกติของทางการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก   แก้ม   ลิ้น   ใบหน้า  แขน  ขา

  มีการพัฒนาของปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ    ของร่างกายผิดปกติไม่เป็นตามวัย    และมีปฏิกริยา
  ตอบสนอนต่อการกระตุ้น  เอ็นหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ  ทำให้มีกล้ามเนื้อหดสั้น  และดึงให้ข้ออยู่
 ในลักษณะงอหรือผิดรูป  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้  2 กลุ่ม  คือ
 1.1 กลุ่มเกร็ง (Spastic) เด็กมีกล้ามเนื้อเกร็ง  เคลื่อนไหวได้ช้า  ขาอาจมีอาการ
มากกว่าแขน  หรือมีความผิดปกติครึ่งซีก  หรือผิดปกติทั้งตัว  ทำให้ควบคุม
 กล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
1.2  กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) เด็กไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ ได้
 จะมีการแสดงสีหน้า  คอบิด  แขนงอ  หรือเหยียดเปะปะ  ทั้งพูดลำบาก กลืน
 ลำบาก  อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว  คล้ายอาการขว้างลูกบอล

 เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) มักมีปัญหาทางสายตา  หรือการได้ยินร่วมด้วย และ
  อาจมีปัญหาในการสื่อความหมาย   เด็กจำนวนหนึ่งอาจมีระดับสติปัญญาตํ่า

 2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง 
กลุ่มแรก  ได้แก่   กลุ่มที่มีความผิดปกติระหว่าง   การพัฒนาร่างกายในครรภ์
 กระดูกสันหลังที่ห่อหุ้มไขสันหลังไม่เชื่อมติดกัน   ทำให้มีการดึงรั้งของประสาท
 ไขสันหลัง  บางครั้งมีนํ้าในสมองเพิ่มด้วย  เด็กจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่มีความ
  รู้สึก  และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
 กลุ่มที่ 2 เกิดภายหลังจากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง  ได้แก่
 อุบัติเหตุทางรถยนต์  ถูกยิง  ถูกแทง  ตกจากที่สูง  หรือการติดเชื้อในไขสันหลัง
 หรือการติดเชื้อในไขสันหลัง   ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับที่ได้รับบาดเจ็บ  ถ้า
 เกิดในระดับที่สูงมาก    ก็จะมีอาการอัมพาตของแขน และลำตัวร่วมด้วย  การที่
  กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรง ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคด และกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาต
 มักมีอาการเกร็ง กระตุก  เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และ
 การสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ไตวายได้
  3. กลุ่มแขนขาขาด  อาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ หรือเป็นมะเร็งของกระดูก
  ทำให้สูญเสียแขนขาภายหลัง
 4. โรคโปลิโอ  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ไขสันหลังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  เป็นอัมพาต    โดยประสาทรับความรู้สึกยังเป็นปกติ   อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง   เกิดขึ้นกระจัด
  กระจายไม่เป็นเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง  อาจมีกล้ามเนื้อลำตัวเป็นอัมพาตด้วย กล้ามเนื้อที่
  อ่อนแรงจะถูกกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าดึงให้ข้อผิดรูป  ทำให้มีกระดูกสันหลังคด  ขาโก่ง  เท้าบิด
  แขนขายาวไม่เท่ากัน  เป็นต้น
   5. ความพิการอื่นๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม ข้ออักเสบ ข้อติดยึด กระดูกสันหลังฝ่อ 
  กล้ามเนื้อพิการ โรคกระดูกเปราะบาง  เป็นต้น

                                






.............................................................................................................................................................................................................
กิจกรรมในห้องเรียน
1.เรียนรู้เกี่ยวกับความบกพร่องทางสุขภาพ   ความบกพร่องทางร่างกาย และความบกพร่องทางภาษา

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บุคคลพิการ 9 ประเภท

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา
.๒๕๕๒

(บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
(บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
(บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
(บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
(บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
(บุคคลออทิสติก
(บุคคลพิการซ้อน




กิจกรรมภายใจห้อง :วิธีตวจสอบสายตา:




วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



>> สัปดาห์แรกของการเรียนการสอน <<



   
** ทำ My Maping เกี่ยวกับ " เด็กพิเศษ " จากความรู้เดิม หรือ สืบค้นจาก Internet

** แลกเปลี่ยนความเห็นกันภายในห้อง